มาตรฐานการทำงาน
เฟอร์นิเจอร์บิลท์อินที่่มีคุณภาพ ขึ้นกับคุณภาพวัสดุที่ใช้(ตามงบในกระเป๋าของแต่ละลูกค้า) คุณภาพฝีมือช่าง และขบวนการทำงานในแต่ละขั้นตอน ทั้งงานไม้ งานสี และอุปกรณ์ฟิตติ้งต่างว่าเหมาะสมและมีคุณภาพหรือไม่ สำหรับเรามีมาตรฐานการตรวจสอบและควบคุมคุณภาพดังต่อไปนี้
งานไม้ |
งานสี |
- ไม้โครงต้องกลิ้งน้ำยากันปลวกก่อนใช้งานทุกครั้ง
- คัดเลือกไม้โครงให้เหมาะกับกรอบแผงและกรณีใช้ไม้หน้าแคบเสริมกระดูกและเอ็น ความหนาต้องเท่าๆกัน(แตกต่างกันได้ไม่เกิน1มม.) และได้ความตรง ไม่บิดงอหรือโก่งเกิน2มม.ใน1เมตร
- รอยตัดวัสดุกรุผิดและปิดผิว โดยเฉพาะหน้าบาน จะต้องไม่มีรอยฉีกแตกหรือบิ่น โดยต้องใช้ใบเลื่อยฟันละเอียด(ไม่น้อยกว่า100ฟัน)ไม่ให้เกิดรอยตัดฉีก
- การกรุผิว ขอบ-คิ้วต่างๆ รวมทั้งการตัดประกอบไม้โครง ต้องแนบสนิทและได้ฉาก(โดยทากาวประสานก่อนยิงแม็กซ์เท่าที่จำเป็น) สัมผัสด้วยมือต้องไม่สะดุด และกรณีติดตั้งตู้/ชั้นเข้าผนังกำแพงที่ไม่ได้ดิ่งต้องกรุเก็บผิวเข้าผนังกำแพงให้เรียบร้อย
- แผงด้านที่ต้องปิดขอบโดยเฉพาะบานตู้ ต้องทริมขอบข้างด้วยใบเลื่อยฟันละเอียด(ไม่น้อยกว่า100ฟัน)ก่อนติดไม้ปิดขอบหรือวีเนียร์ และให้ตรวจวัดเส้นทะแยงมุมให้ได้เท่ากันทุกบาน
- ตรวจสอบความโค้ง เอียงของหน้าบาน และคิ้วตกแต่งต่างๆด้วยสายตาต้องไม่เกิน2ใน1,000มม.
- ปรับแต่งการยึดหน้าบานตู้และลิ้นชักต่างๆ ให้ระยะห่างไม่เกิน3มม.และดูได้แนวสวยงาม
- ก่อนนำงานเข้าติดตั้งหน้างานทุกครั้ง ต้องเข้าไปติดตั้งวัสดุป้องกันความเสียหายพื้นผิวและพื้นที่หน้างาน(Protected)
|
- ก่อนการลงงานสีและ/หรือเก็บสีหน้างาน จะต้องปกป้อง(Protect)ตัวบ้านหรืออุปกรณ์ต่างๆที่จะมีผลกระทบจากการทำสีเปรอะเปื้อน
- ต้องทำงานสีให้ขั้นตอนครบถ้วนตามแต่ละประเภทสี และสีผิวภายนอกแรกเห็น(first look)เป็นA ผิวที่เป็นภายใน(second look)B และผิวที่มองไม่เห็น(under need) เป็นมาตรฐานC
- สีมาตรฐานA ต้องเรียบ เนียน เนื้อแน่น สีอิ่ม ไม่เห็นรอยเสี้ยนไม้ มาตรฐานB สีเรียบ เนียน เนื้อแน่น ส่วนมาตรฐานC เป็นสีทาปิดผิวไม้ใต้ขอบบานตู้หรือใต้ลิ้นชัก
- การทำสีพ่นบนไม้อัดสัก จะต้องทำขบวนการบล็อกยางไม้โดยพ่นทับรองพื้นก่อนพ่นสีจริงทุกครั้ง
- งานสีทุกชิ้นทำเสร็จจากรง.90% เฉพาะหน้าบานต้องทำเสร็จจากรง.และห่อหุ้มกันรอยด้วยกระดาษปอนด์
- ต้องsealเก็บระยะห่างผนังไห้เรียบร้อยโดยใช้ซิลิโคนสีเดียวกับตู้หรือไกล้เคียง
- ช่างสี คือผู้รับผิดชอบพื้นที่ในการเก็บและทำความสะอาด(Clean &Clear)ขั้นตอนสุดท้ายที่จะส่งมอบงาน และหากเกิดความเสียหายจากการทำสีกับอุปกรณ์ต่างๆหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของพื้นที่หน้างาน ช่างสีจะต้องรับผิดชอบแก้ไขและรับภาระค่าใช้จ่ายเองทั้งสิ้น
|
การตรวจสอบคุณภาพงาน(Quality Checking&Control)
วันที่.......................................
โครงการ................................
การตรวจสอบโดยรวม
1. ตรวจคัดคุณภาพไม้จากร้านขายและก่อนตัดแบ่ง
2. ตรวจปริมาณงานครบถ้วนตาม BOQ.
3. ตรวจคุณภาพงานไม้ งานสี อุปกรณ์ และฟังชั่นการใช้งานได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน
:: มาตรฐานคุณภาพงานไม้ ::
รายการ |
ผ่าน |
ไม่ผ่าน |
เกณฑ์มาตรฐาน |
1.เช็คขนาน//,ระดับ=,ดิ่ง และฉาก |
|
|
3มม./เมตร |
2.เช็คช่องห่างหน้าบาน(กรณีบานทับขอบ) |
|
|
3 มม. |
3.ระยะขอบตู้-ขอบบาน(กรณีบานในขอบ) |
|
|
3 มม. |
4.คุณภาพเนื้อไม้/วัสดุปิดผิว |
|
|
ไม่มีตำหนิ |
5.รอยต่อไม้และการเข้ามุม |
|
|
แนบสนิท ไม่เหลื่อม |
6.ความหนาแผงขอบและหน้าบาน |
|
|
ได้ตามกำหนด |
7.เช็คการเปิด-ปิดหน้าบาน รางลิ้นชัก-การสไลด์ |
|
|
ไม่เบียด/สี ลื่นไม่ติดขัด |
8.เช็คอุปกรณ์-ภายนอก/ใน |
|
|
ได้ตามแบบกำหนด |
9.การซีลกระจกด้วยซิลิโคน |
|
|
รอยซีลสม่ำเสมอ ไม่ขาดตอน เรียบร้อย |
10.การชักแนว-ตีร่อง |
|
|
ร่องเล็ก6ม.ม.ร่องใหญ่10ม.ม.หรือตามกำหนด |
:: มาตรฐานคุณภาพงานสี ::
รายการ |
ผ่าน |
ไม่ผ่าน |
เกณฑ์มาตรฐาน |
1.เนื้อสีภายนอก |
|
|
เรียบเนียน(อิ่ม)สม่ำเสมอ (มาตรฐานA) |
2.เนื้อสีภายใน |
|
|
เรียบ-ทั่วพื้นผิว สม่ำเสมอ (มาตรฐานB) |
3.โทนสีภายนอก/ใน |
|
|
ถูกต้องตามกำหนด |
4.สีรอยต่อไม้-ตามมุมอับ |
|
|
ไม่มีรอยกาว-แป้ง เขียนลายไม้ ตบแต่งกลมกลืน |
5.สีบริเวณติดอุปกรณ์ |
|
|
ไม่เลอะติดอุปกรณ์ (ต้องถอดอุปกรณ์ก่อนทำสี) |
6.สีบริเวณจุดสวิง/สไลด์ |
|
|
ไม่เลอะสีไม่ถลอกจากการเสียดสี |
ผู้ตรวจ.....................................
ผู้APPROVED.............................
มาตรฐานการตรวจรับ - ส่งมอบงาน
ขั้นตอนการตรวจรับและส่งมอบงาน
เงื่อนไขการประกันผลงาน*ภายใต้เงื่อนไขการใช้งานปกติ